ระบบสมาชิก |
|
สมาชิกทั้งหมด 4 คน |
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน |
|
|
 |
 |
 |
|
|
|
 |  |  |
|
|
|
|
|
ภารกิจหลักของหน่วยงาน
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง เป็นหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ทำหน้าที่ประสานนโยบายสุขภาพในระดับอำเภอให้สอดคล้องกับนโยบายระดับจังหวัด เชื่อมโยงการปฏิบัติงานของหน่วยบริการสุขภาพ (รพ.สต.) ในพื้นที่ทั้งระดับอำเภอ ตำบลและองค์กรปกครองท้องถิ่น ให้บริการทางด้านวิชาการ การบังคับใช้กฎหมายสาธารณสุขและกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคและผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพ ส่งเสริมพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชน ปฏิบัติงานร่วมกับประชาคมท้องถิ่นในการพัฒนาสุขภาพ ทำหน้าที่ส่งเสริม ควบคุมป้องกันโรค การให้บริการรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสุขภาพให้แก่ประชาชน
บทบาทหน้าที่ตามกฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการสำนักปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2560 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8 ฉ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2543 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 21 สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1) จัดทำแผนยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพในเขตพื้นที่อำเภอ
(2) ดำเนินการและประสานงานเกี่ยวกับงานสาธารณสุขในเขตพื้นที่อำเภอ
(3) กำกับ ดูแล ประเมินผล และสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานสาธารณสุขในเขตพื้นที่อำเภอ เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามกฎหมาย มีการบริการสุขภาพที่มีคุณภาพและมีการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ
(4) ส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานเกี่ยวกับงานสาธารณสุขในเขตพื้นที่อำเภอให้เป็นไปตามนโยบายของกระทรวง
(5) พัฒนาระบบสารสนเทศ งานสุขศึกษา และการสื่อสารสาธารณะด้านสุขภาพในเขตพื้นที่อำเภอ
(6) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
วิสัยทัศน์ :
เป็นองค์กรด้านบริหารจัดการระบบสุขภาพ เพื่อประชาชนสุขภาวะดี
พันธกิจ
1. พัฒนาและบริหารจัดการสถานบริการให้ได้คุณภาพมาตรฐาน
2. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนในการจัดการระบบสุขภาพ
3. สนับสนุนการจัดบริการสุขภาพแบบองค์รวม
4. ส่งเสริมให้ประชาชนสามารถดูแลสุขภาพด้วยตนเอง
เป้าประสงค์ :
เครือข่ายบริการสุขภาพได้มาตรฐาน และประชาชนมีสุขภาวะที่พึงประสงค์
ยุทธศาสตร์ :
1. พัฒนาคุณภาพบริการสุขภาพแบบองค์รวม
-ขับเคลื่อนและใช้กระบวนการ DHB ในการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขใน
พื้นที่
-พัฒนาระบบบริการเชิงรุกในพื้นที่และเพิ่มการเข้าถึงบริการ สาธารณสุข
โดยจัดระบบทีมหมอครอบครัว
-พัฒนาคุณภาพบริการตามแนวทางเวชศาสตร์ครอบครัว
2. ส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนาคุณภาพของหน่วยบริการในเครือข่าย
-พัฒนาหน่วยบริการ ตามมาตรฐาน รพ.สต.ติดดาว
-พัฒนาศักยภาพบุคลากร เพื่อเพิ่มคุณภาพบริการ และเพิ่มประสิทธิภาพ
ด้านการบริหารจัดการ
-พัฒนาการระบบบริหารจัดการบุคลากรให้มีประสิทธิภาพ
3. พัฒนาความร่วมมือด้านการสร้างสุขภาพกับองค์กรท้องถิ่น ประชาคม
และหน่วยงานองค์กรต่างๆ
-สร้างและพัฒนา ความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย (อสม.,แพทย์พื้นบ้าน,
อปท + กองทุนสุขภาพตำบล) ในการดำเนินงานด้านสุขภาพ
-พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถดำเนินงานสุขภาพตาม
บทบาทที่เกี่ยวข้อง ได้อย่างมีคุณภาพ
4. พัฒนาระบบการบริหารจัดการโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน
-พัฒนาระบบกำกับ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน
-พัฒนาระบบบริหารการเงินการคลังของเครือข่ายให้มีประสิทธิภาพ
ตอบสนองการดำเนินงานของหน่วยบริการ ยืดหยุ่นตามบริบทและ
สถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง
-สร้างระบบเฝ้าระวัง และตอบสนองต่อสถานะการเงินการคลัง
(เพิ่มรายได้, ลดรายจ่ายและลดการสูญเสีย)
5. พัฒนาระบบสารสนเทศให้ทันสมัย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการบริหาร
จัดการ
-พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศด้านบริการ ให้มีประสิทธิภาพ (JHCIS)
-พัฒนาคุณภาพระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ ( EGP ฯลฯ)
วัตถุประสงค์:
1. สถานบริการได้มาตรฐานตามเกณฑ์
2. ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการระบบสุขภาพ
3. ประชาชนได้รับบริการสุขภาพแบบองค์รวมที่ได้มาตรฐานอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
4. ประชาชนสามารถดูแลสุขภาพได้ด้วยตนเอง
ค่านิยม (Core Values)
MOPH - S
M Mastery เป็นนายตนเอง
O Originality เร่งสร้างสิ่งใหม่
P People centered approach ใส่ใจประชาชน
H Humility ถ่อมตนอ่อนน้อม
k knowledge ความรู้
วัฒนธรรม
เสียสละ ซื่อสัตย์ สามัคคี
|
|
|
|
 |  |  |
|